จากบล็อกของภาคี
ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ประกาศทุน
- ศูนย์ข้อมูล
- สื่อต่างๆ
“สาธิต” ชื่นชม สสส.-เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ฐานรากสังคมสุขภาวะ เข้มแข็งพึ่งตนเอง ลดความเหลื่อมล้ำ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่- สสส. รวมพลัง 8 หน่วยงาน เพิ่มขีดความสามารถชุมชนท้องถิ่นสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2565 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 ประธานเปิดงานเวที “สานพลัง สร้างนวัตกรรม สู่สุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน” และ ปาฐกถาพิเศษ “ร่วมสร้างสุขภาวะประเทศไทย” กล่าวว่า เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. มีสมาชิกกว่า 3,000 ตำบล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีวิธีคิด วิธีการเรียนรู้ และวิถีปฏิบัติแบบมุ่งใช้พื้นที่เป็นฐานพัฒนา และใช้สุขภาวะชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของทุกนโยบาย ดึงทุกภาคส่วนร่วมสร้างสุขภาวะชุมชน ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน รวมถึงองค์กรภาครัฐ เอกชน องค์กรทางสังคม เสริมความเข้มแข็งให้ระบบปฐมภูมิ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินและวิกฤต ระบบการดูแลในระยะยาว ระบบการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ระบบ การเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อ ครอบคลุมประชากร 100% โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องการดูแลพิเศษ เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ คลิกดูเพิ่มเติม
“ตู้ปันสุข” พลังความคิดสร้างสรรค์เพื่อชุมชน รวมพลังเด็กเยาวชนจังหวัดกระบี่ สู้ภัยโควิด-19 ในช่วงสถานการณ์ปัญหาโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเด็ก จำเป็นต้องมีการปรับตัวและวิถีการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ ที่หลายคนกำลังคุ้นเคยกับ คำว่า New Normal ความปกติรูปแบบใหม่ กลุ่มละครมาหยา สโมสรลูกปูดำ หน่วยจัดการด้านเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ได้ร่วมกับกลุ่มเด็กในพื้นที่ของจังหวัดกระบี่ ร่วมออกแบบกิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์” และกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับเด็กและเยาวชน ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้รูปแบบ “เด็กกระบี่ปันสุข ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชน สู้ภัยโควิด-19” ด้วยพลังความคิดเล็กๆที่เกิดขึ้นในชุมชน ส่งผลให้วิถีชีวิตของเด็กในกระบี่ ได้ก้าวออกจากสภาวะที่ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 นายปริวัตร กิจนิตย์ชีว์ ผู้จัดการโครงการพลังพลเมืองเด็กสร้างสุขกิจกรรมสร้างสรรค์ (หนุก-คิดส์) หรือ Young Citizen Active Play เป็นกิจกรรมภายใต้การสนับสนุนของ สำนักสร้างสรรค์โอกาส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านเด็กและเยาวชนในการจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์และกิจกรรมช่วงวันหยุด พร้อมกระจายโอกาสการทำกิจกรรมสร้างสรรค์เสริมสร้างสุขภาพ สู่กลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ “จากสถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส โควิด-19 กลุ่มเด็กและเยาวชนในจังหวัดกระบี่ จึงมีไอเดียในการสร้างสรรค์ที่อยากทำประโยชน์ต่อสังคม นอกเหนือจากการอยู่บ้าน ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัย ที่ต้องดูแลตนเองแล้ว ยังได้มีไอเดียที่สร้างสรรค์จากฝีมือกลุ่มเยาวชน ผ่านการผลิตคลิปสั้นการรณรงค์อยู่บ้าน การล้างมือ รวมไปถึงกิจกรรมที่สร้างสรรค์ในชุมชน เพื่อสู้ภัยโควิด-19 เช่น การเปิดร้านฝากของออนไลน์ผ่านหน้าแพนเพจของสโมสรลูกปูดำ รวมไปถึงการระดมสิ่งของอาหาร ผ่านการสร้างตู้ปันสุข ในชุมชน โดยการรวมกลุ่มเพื่อนๆ จิตอาสามาสร้างสรรค์ตู้ที่ไม่ใช่แล้วมาสร้างสรรค์และแบ่งปันการจัดกิจกรรมในครั้งนี้” เด็กและเยาวชนกลุ่มลูกชาวเกาะ พื้นที่บ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ได้ชักชวนเพื่อนๆ มาเป็นอาสาสมัครในการระดมสิ่งของกิน ของใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็น ในการแจกจ่ายผ่าน “ตู้ปันสุข” ที่สร้างสรรค์ผ่านจินตนาการนำตู้เก่ามาสร้างสรรค์ร่วมกัน พร้อมการสอนวิธีการดูแลตนเองในช่วงสถานการณ์ปัญหาโควิด-19 ซึ่งผลการดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่ พร้อมด้วยชาวบ้านที่มีจิตอาสามาร่วมแบ่งปันความสุขท่ามกลางวิกฤติในครั้งนี้ ขณะที่ กลุ่มต้นกล้าพันธ์เกร่ง ของโรงเรียนศาสนูปถัมภ์มูลนิธิ พื้นที่บ้านบ่อน้ำร้อน ตำบล ห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ได้จัดกิจกรรมในการ “ทำหน้ากากเฟสชิว Face Shield” พร้อมการผลิตสื่อคลิปสั้น เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ และนำไปแจกให้กับ พี่ๆเจ้าหน้าที่ อสม.ในชุมชน และชาวบ้าน ที่มีความจำเป็นและต้องการใช้เพื่อป้องกันตนเอง พร้อมลงพื้นที่นำไปแจกให้กับเพื่อนๆเด็กในชุมชน พร้อมบอกวิธีการดูแลตนเอง การเล่นในบ้าน สอนการล้างมือ เป็นต้น เด็กกระบี่ปันสุข ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชน สู้ภัยโควิด-19 จึงเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของเด็กและเยาวชน ที่ต้องการใช้พลังของพวกเขาสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อชุมชนของของตนเอง แม้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 จะเป็นปัญหาที่สังคมไทยต้องเผชิญหน้า แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งพลังเล็กๆ จากกลุ่มคนเล็กๆ ที่ต้องการสร้างสรรค์ และสร้างประโยชน์ต่อสังคม ด้วยความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน ให้พร้อมสู้ภัยโควิด-19 จากเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ นั่นเอง.
“สสส.” จับมือ “กลุ่มอนุรักษ์เขาชะเมา” เสริมพลังสร้างสุข “เด็กตะวันออก” จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปูพื้นฐานชีวิต เพื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนที่ยั่งยืน สิ้นเสียงโห่และตามด้วยเสียงฆ้องกลองของคณะกลองยาวชาว ช.พ.(โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคาร) เด็กและเยาวชนจาก 8 จังหวัดภาคตะวันออกก็ร่วมร้องรำกันอย่างสนุกสนาน เป็นการเปิดงานสรุปบทเรียนของ “กิจกรรมจิตอาสาเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนพื้นที่ภาคตะวันออก” ได้อย่างเรียบง่าย การรวมตัวของเด็กและเยาวชน ณ โรงแรมแม่พิมพ์รีสอร์ทและบริเวณชายหาดแหลมแม่พิมพ์ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เกิดขึ้นเพื่อสรุปบทเรียนการทำกิจกรรมของพวกเขาในระหว่างปี พ.ศ. 2561-2562 ที่มีทั้งเด็กเล็กๆ ในระดับประถมไปจนถึงเยาวชนระดับมหาวิทยาลัย มีทั้งเด็กจากชายขอบชายแดนและเด็กจากสังคมเมือง รวมกันถึง 29 กลุ่ม และสนใจทำงานจิตอาสาทางด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การเสริมสร้างสุขภาวะ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งดำเนินงานโดย หน่วยจัดการกลุ่มอนุรักษ์เขาชะเมา ภายใต้การส่งเสริมและสนับสนุนของ สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากการให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่มีลักษณะเฉพาะของภาคตะวันออกเพื่อโยงใยไปให้เกิดการรู้เท่าทันกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของภูมิภาคในหลายๆ ด้านตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) ซึ่งขยายเป็นโครงการพัฒนาระเบียงพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดยวิทยากรแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเด็กและเยาวชนกลุ่มต่างๆ ผ่านทางฐานกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิกิจกรรมทางด้านสุขภาวะโภชนาการที่เรียบง่ายโดยการชักชวนให้เด็กๆ มาทำขนมด้วยกัน เส้นสายของฝอยทองที่โรยลงในน้ำเชื่อมกระทะทองเหลืองกลับแฝงเรื่องราวที่น่าสนใจไว้ไม่น้อย จาก Mind mapping สู่การลงพื้นที่เรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาการทำอาหารท้องถิ่นของเหล่าเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดห้วงโสม อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ในชื่อโครงการ Play and learn เชิญ.. ชวน.. ชิม จนเด็กไร้สัญชาติจากโรงเรียนชายขอบมีทักษะด้านอาหารสามารถประกวดจนได้รับรางวัลระดับจังหวัดจนถึงระดับภาค หรือการสืบสานภูมิปัญญาทางวิถีชีวิต พรรณพืชท้องถิ่นผ่าน โครงการสืบสานอาหารปลอดภัย ใส่ใจอาหารถิ่นเกิด ของกลุ่มเยาวชนโรงเรียนเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ที่ต่อมากลายเป็น “ปฏิทินการกินอาหารตามฤดูกาลของตำบลเขาไม้แก้ว” ที่ครอบคลุมทั้งสัตว์และพืชทั้งของป่าและวัตถุดิบจากการเกษตรในชุมชน เรื่องสุขภาวะทางเพศก็ได้รับความสนใจจากเด็กและเยาวชนหลายกลุ่มผ่านทางโครงการต่างๆ เช่น กลุ่มลูกชาวบ้านจากมหาวิทยาลัยบูรพาจังหวัดชลบุรี ได้มองภาพรวมอย่างบูรณาการของพื้นที่สาธารณะตามชายหาดบางแสนและหาดวอนนภาในมุมมองของพื้นที่สร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นจุดเสี่ยงทั้งด้านอนาจาร ปัญหาทางเพศ และยาเสพติด จึงรวมตัวกันสร้าง โครงการ Our Zone Our Area ขึ้นอย่างสร้างสรรค์ หรือ กลุ่มรู้รัก รู้จักปฏิเสธการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ของเด็กๆ จากโรงเรียนคลองใหญ่พิทยาคม จังหวัดตราด ที่ข้ามกรอบความคิดจากเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าละอายที่ต้องปกปิดกลายมาเป็น “ความจำเป็น” ที่ต้องเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในการรู้จักป้องกันตนเอง “น้องไอซ์” ด.ช. จักรกฤษณ์ สุทธิมาลย์ ชั้น ม.2 โรงเรียนคลองใหญ่พิทยาคม โรงเรียนชายขอบ เจ้าของโครงการรู้รัก รู้จักปฏิเสธฯ เป็นผู้สืบสานความรู้และเข้าร่วมกิจกรรมทางสุขภาวะทางเพศมาตั้งแต่อยู่ชั้น ป.6 บอกว่า “การทำโครงการนี้นอกจากได้ความรู้ ผมยังได้เรียนรู้ทักษะการทำงานเป็นทีม และฝึกภาวะผู้นำ ซึ่งได้ประโยชน์มากๆ” ขณะที่เด็กตัวน้อยอย่าง “น้องมรรค” ดญ. มรรคนิชา ชื่นกิจมงคล นักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จาก โครงการละครสร้างเพื่อน ผู้เป็นจิตอาสาตัวน้อยไปเล่นละครหุ่นเงาให้แก่เด็กๆ ผู้ป่วยซึ่งก็สนุกกับละครเรื่องเจ้าหญิงถุงกระดาษกับมังกรของน้องมรรค “ตอนไปเล่นก็ตื่นเต้นดี เพื่อนๆ ที่ดูก็ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่หนูคิดว่า เพื่อนๆ มีกำลังใจ น่าจะหายป่วยเร็วขึ้นค่ะ” น้องมรรคเล่าอย่างภูมิใจ ซึ่งไม่ต่างกับพี่ๆ สมาชิก กลุ่ม Puppet of mind แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ผู้สร้างหุ่นมือ “แมวน้อยร้อยหมื่นชาติ” ที่เนื้อหาในเชิงนามธรรมชวนให้คิด หรือเวิร์คชอปสนุกๆ อย่างบอร์ดเกมจาก โครงการ Sex must Say และการวาดรูปตนเองโดย กลุ่มโครงการธรรม–มะ ก็ได้เห็นกิจกรรมให้ความรู้โดย กลุ่มผลิตสื่อ รักษ์ผ่านสื่อ ลงมือผ่านเลนส์ ก็ยังมีโครงการน่าสนใจหลายโครงการเช่น โครงการสืบสานภูมิปัญญาบ้านตาหนึก ที่นำเอาเปลือกหอยจากชายทะเลติดกับโรงเรียนมาเป็นจุดเด่น หรือฐานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องภาษาจาก โครงการรักษ์อ่านเขียนเรียนรู้ชีวิต รวมไปการเล่าเรื่องง่ายๆ ด้วยกิจกรรมสานตั๊กแตนจากใบมะพร้าว “ได้ลงชุมชน ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ ทำให้เราได้รู้คุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่นได้มากกว่าเดิม อยากรักษาไว้ ไม่ให้หายไป และส่งต่อความรู้ให้คนรุ่นหลังต่อไป” เสียงสะท้อนจาก นุก : ภัทราภรณ์ จันทร์รัตนา จากกลุ่มลูกไม้ใต้ต้น อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ที่ทำงานเรื่อง “การศึกษาบนฐานชุมชน” เป็นการเรียนรู้ในชื่อ ระเบียงการเรียนรู้ตะวันออก : ELC ที่มองว่า หาก EEC จะเปลี่ยนระยองให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม พวกเขาจะใช้กระบวนการ ELC เพื่อสร้างการเรียนรู้และและบ่มเพาะความเติมโตด้านความคิดให้คนรุ่นใหม่ให้หันมารักและอนุรักษ์สิ่งดีๆ ที่บ้านเกิด เพราะพวกเขามีสิทธิเลือกอนาคตตนเอง ลมอุ่นพัดพาว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้าเข้ม แดดบ่ายล้อประกายคลื่น หาดทรายราบกว้าง ลูกรักบี้ลอยท่ามกลางเสียงเฮฮา ความขะมักเขม้นของเด็กๆ ที่ช่วยกันเก็บขยะชายหาดพร้อมไปกับนับก้าวการเดินผ่านแอพลิเคชั่น กิจกรรมริมทะเลหาดแม่พิมพ์ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับ “โครงการพลังเด็กตะวันออก”ทั้งสิ้น นับเป็นการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับความสนุกในกิจกรรมกลางแจ้งของสมาชิกหลังจากอยู่ในห้องประชุมทั้งวันได้เป็นอย่างดี “จากการทำงานกว่า 20 ปีในพื้นที่เริ่มจากกลุ่มรักษ์เขาชะเมา การได้มาเป็นหน่วยจัดการของ สสส. ทำให้เราได้ขยายงานกว้างออกไปอีกในทุกจังหวัดภาคตะวันออก ได้พบว่าแต่ละโครงการมีจุดเด่นน่าสนใจที่สามารถแก้ปัญหาและนำมาขยายผลต่อได้ โดยความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนขบวนเด็กและเยาวชนภาคตะวันออก ยังต้องการความสนับสนุนจาก สสส. ให้ขับเคลื่อนโครงการที่มีอยู่ต่อเพื่อให้เกิดการขยายผลของโครงการต่างๆ ด้วยตนเองอย่างเข้มแข็ง เพื่อปกป้องบ้านเกิดของตนเองได้ต่อไป” คือบทสรุปการทำงานที่ผ่านมาและการมองสู่อนาคตของ “พี่แฟ๊บ” บุปผาทิพย์ แช่มนิล ผู้จัดการโครงการสนับสนุนกิจกรรมจิตอาสาเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนพื้นที่ภาคตะวันออก นี่คือสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นจากแรงกายและแรงใจของเด็กและเยาวชนภาคตะวันออกในการร่วมกันขับเคลื่อนแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้มิติต่างๆ ให้เกิดขึ้นทั้งกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคมด้วยหัวใจรักษ์บ้านเกิดอย่างแท้จริง. บรรยายภาพ 01-11 บรรยากาศในห้องประชุมและกิจกรรมประจำฐานต่างๆ 12-14 กิจกรรมริมทะเล 15 น้องไอซ์ ด.ช. จักรกฤษณ์ สุทธิมาลย์ 16 น้องมรรค ดญ. มรรคนิชา ชื่นกิจมงคล 17 นุก : ภัทราภรณ์ จันทร์รัตนา 18 พี่แฟ๊บ บุปผาทิพย์ แช่มนิล
“กระดานดำ”นวัตกรรมสร้างสุข สนุกได้ทุกวัยที่ “รร.บ้านตืองอ” สานสัมพันธ์ “บ้าน-โรงเรียน-ชุมชน” ด้วยการเรียนรู้ “ภาษาไทย” คำว่า “นวัตกรรม : Innovation” ในความคิดของคนส่วนใหญ่คือเทคโนโลยีทันสมัยไฮเทค แต่ในความจริงแล้ว เทคโนโลยีล้าหลังของบางพื้นที่อาจจะเป็นนวัตกรรมที่ดีในบางพื้นที่ก็เป็นได้ เช่นที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์13 อำเภอสุคิริน ชายแดนจังหวัดนราธิวาส ที่นั่นสามารถใช้ชอล์คและกระดานดำแก้ปัญหาการอ่านเขียนภาษาไทยได้อย่างดี บ้านตืองอ เป็นอีกชุมชนในชนบทชายแดนใต้ที่ใช้ภาษามลายูเป็นหลักในการสื่อสาร เป็นชุมชนชาวมุสลิมที่จากชายทะเลแถบหนองจิก ปานาเระ สายบุรี ขึ้นมาบุกเบิกทำมาหากินตั้งแต่เมื่อราว 50 ปีก่อน โดยประกอบอาชีพทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และรับจ้างทั่วไป ด้วยสภาพหนทางที่ทุรกันดารจึงมีการตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอฯ ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ที่เปิดการสอนเป็นต้นมา โรงเรียน ตชด. บ้านตืองอฯ ก็ได้จัดการเรียนการสอนเน้นการอ่านเขียนภาษาไทยและการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามโครงการพระราชดำริโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินมาติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารหลายครั้ง ซึ่งก็ได้ผลดีน่าพอใจมาก แต่อย่างไร ปัญหาด้านการเขียนอ่านภาษาไทยสำหรับนักเรียนก็ยังต้องการความใส่ใจอย่างใกล้ชิด “การเรียนภาษาไทยในชุมชนมุสลิมก็เหมือนการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กพื้นที่อื่น แต่ยากกว่ามาก เพราะภาษาอาหรับมีสระน้อยกว่า ออกเสียงง่ายกว่าภาษาไทยมาก และตัวอักษรก็เขียนกลับด้านกับภาษาไทยคือเริ่มจากขวาไปซ้ายตรงกันข้ามกัน ดังนั้นเมื่อเด็กเขียนภาษาไทย มักจะเขียนถอยหลัง” ส.ต.ท.ดัตช์ ช่วยเทวฤทธิ์ ครูผู้สอนของโรงเรียนบ้านตืองอฯ อธิบาย เป็นที่แน่นอนว่าการฝึกอ่านเขียนภาษาไทยบ่อยๆ คือวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งโรงเรียนบ้านตืองอฯ ก็สอนการอ่านเขียนภาษาไทยตามแบบการสอนเหมือนโรงเรียนอื่นๆ ด้วยการแจกลูกสะกด หัดอ่านและเขียนไปพร้อมๆ กัน แต่ ครูดัตช์พบปัญหาบางอย่างในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก “เสียเวลาเรียนไปมากมายกับการเหลาดินสอ ผมพยายามแก้ปัญหาโดยการเหลาดินสอเตรียมไว้ก่อนชั่วโมงเรียนมากๆ แต่ก็ยังเสียเวลาเพราะเด็กๆ มักจะทำดินสอหักตอนเขียน” ครูดัตช์อธิบาย ปัญหาดินสอหักอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ในความจริงแล้วคือปัญหาทางด้านพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือสำหรับการเขียนในเด็กโดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน คณะครูจึงแก้ปัญหาโดยใช้ “ชอล์ค” และ “กระดานดำ” มาให้เด็กเขียนแทน ซึ่งชอล์คและกระดานมีขนาดใหญ่ เขียนตัวอักษรได้ขนาดใหญ่ จับถือง่ายและมีแรงฝืดในการเขียนพอเหมาะ เด็กสามารถเขียนได้คล่องมือมากกว่าการใช้กระดาษและดินสอ “ชอล์คมีหลายสี สีของชอล์คก็มีผลมากเพราะสามารถเร้าความสนใจให้เด็กมากขึ้น และยังสามารถบูรณาการกระดานและชอล์คไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่นการสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ หรือศิลปะได้อย่างดี” ครูดัตช์อธิบาย ด้วยข้อดีของชอล์คและกระดานดำในการสอนภาษาไทยในโรงเรียนบ้านตืองอฯ ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักสร้างสรรค์นวัตกรรม สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะครูโรงเรียนบ้านตืองอฯ ได้พัฒนาชอล์คและกระดานดำเป็นนวัตกรรมให้เป็นกระดานดำส่วนตัว ในชื่อ โครงการสร้างเสริมความรู้ภาษาไทยเด็กด้อยโอกาสเรียนรู้ เพื่อฝึกการอ่านเขียนสะกดคำให้กับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส “เราพัฒนาต่อเนื่อง กระดานดำขนาดใหญ่นอกจากช่วยให้เขียนง่ายแล้ว ตัวอักษรขนาดใหญ่ทำให้เพิ่มความจำและกระตุ้นความสนใจได้ดี นอกจากนั้นเราส่งเสริมให้ผู้ปกครองมาเรียนรู้ด้วยกัน ได้รู้วิธีช่วยเหลือดูแล ช่วยสอนอ่านเขียนเบื้องต้นอย่างถูกวิธี ช่วยให้เกิดผลดีอย่างรวดเร็ว” ร.ต.ท.สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านตืองอฯ เล่าให้ฟังถึงการทำงานขยายผลกระดานดำของคณะครูในโรงเรียนด้วยการให้เด็กนักเรียนทุกคนมีกระดานดำส่วนตัวทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เพื่อใช้ทบทวนความรู้ร่วมกับผู้ปกครอง “ได้กลับมาเขียนภาษาไทยแล้วรู้สึกดีมาก ได้ทบทวนและพัฒนาความรู้ และดีใจที่ลูกเขียนอ่านได้ดีมากขึ้น” มารือณี แวหะมะ แม่ของ ด.ญ.ฮาบีบี วานิ นักเรียนชั้น ป. 4 ผู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้อ่านเขียนร่วมกับลูกที่จัดโดยคณะครูโรงเรียนบ้านตืองอฯ หลายครั้งเล่าให้ฟังอีกว่า โดยปกติไม่ได้ใช้ภาษาไทยกับลูก แต่กิจกรรมการทบทวนความรู้ด้วยกระดานดำทำให้ได้พูดคุยกับลูกเป็นภาษาไทยมากขึ้นกว่าเดิม “กระดานดำใช้ง่ายเขียนง่าย เขียนได้ตัวโตๆ ผู้ปกครองไม่ได้ใส่แว่นหรืออยู่ไกลๆ ก็อ่านได้สะดวก จึงสามารถตรวจการบ้านของเด็กและเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างดี” ครูใหญ่สุวิทย์อธิบายและ กล่าวเสริมแม้ว่ากระดานขนาดใหญ่จะเห็นได้ชัดและเขียนง่าย แต่เป็นปัญหากับเด็กเล็กอยู่บ้าง ดังนั้นทางโรงเรียนกำลังพัฒนากระดานดำขนาดเล็กเพื่อเด็กอนุบาลโดยเฉพาะ ด้วยผลสำเร็จเชิงประจักษ์ โรงเรียนจึงขยายผลกระดานดำสู่นวัตกรรมครบทั้งกระบวนการโดยให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้าร่วม กิจกรรมเรียนรู้ภาษาไทยร่วมกับนักเรียน ปีการศึกษาละ 6 ครั้งเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถสอนเสริมให้ลูกหลานได้อย่างถูกต้อง และตอกย้ำความรู้ภาษาไทยที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่เคยเรียนแล้วแต่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน กระตุ้นให้ในชุมชนใช้ภาษาไทยมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารที่มากขึ้น ซึ่งได้รับผลตอบรับจากผู้ปกครองดีมาก การสื่อสารในสื่อออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมทั้งในเด็กและผู้ปกครอง จำเป็นต้องใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร กระดานดำกับชอล์ค สื่อการสอนง่ายๆ เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้เด็กและผู้ปกครองในชุมชนบ้านตืองอ ได้ทบทวนการใช้ภาษาไทยร่วมกัน สร้างสัมพันธภาพที่ดีขึ้นระหว่างโรงเรียนและชุมชน สร้างความสุขในการเรียนภาษาไทย อันเป็นพื้นฐานในการสื่อสารและพัฒนาทักษะชีวิต อีกทั้งเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวจากการทำกิจกรรมร่วมกันของลูกหลานและผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี.
แนวทางการสนับสนุนทุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพทั่วไป แผนสร้างสรรค์โอกาสสร้างเสริมสุขภาวะ เปิดรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพทั่วไป (Open Grant) ซึ่งเป็นโครงการด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ ที่เปิดโอกาสให้กับกลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงการรับทุนสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยเน้นวิธีการดำเนินงาน เทคโนโลยี เครื่องมือ หรืออื่นๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ มีหลักฐานบ่งชี้ว่าจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและทำให้เกิดการแก้ปัญหาของพื้นที่ได้ผลดีภายในระยะเวลาของโครงการ โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่ ขอเชิญชวนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมสุขภาพ เพราะ สสส. มีหน้าที่เป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุน ผลักดัน กระตุ้น และร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ความรู้นำ ในการแก้ปัญหาสุขภาพที่มีความสลับซับซ้อน การทำงานจึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนในสังคมมาร่วมเป็นเครือข่าย การสนับสนุนโครงการของ สสส. จึงเป็นไปอย่างเปิดกว้าง หาก “คุณ” เป็นคนหนึ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ถึงนวัตกรรมใหม่ๆ หรือมีแนวคิดที่เกิดจากความมุ่งหวังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหรือสังคมที่คุณอยู่ ให้มีสุขภาพดี สสส. โดย “สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6)” เปิดโอกาสให้ “ทุกคน” สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ โดยประเด็นหลักที่ สสส.มุ่งสนับสนุน ประกอบด้วย การลดอัตราการบริโภคยาสูบ การลดอัตราการบริโภคสุราและสิ่งเสพติด การเพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารอย่างสมดุล การเพิ่มสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกาย การลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนน การเพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ การลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การเตรียมพร้อมรับปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่และปัจจัยเสี่ยงอื่น ประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ชุดเรียนรู้ด้วยตนเอง (E-learning) ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เพื่อสนับสนุนให้ผู้เสนอโครงการมีความเข้าใจในการนำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในพื้นที่ การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์ การออกแบบกิจกรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการเขียนข้อเสนอโครงการให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ และนำไปสู่แนวทางการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาวะ สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) ได้จัดทำชุดเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องการพัฒนาข้อเสนอโครงการ (Project Development) ขึ้นมา โดยสามารถลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งาน ได้ที่ http://www.edu-opengrant.com/ กระบวนการพิจารณาโครงการ โครงการที่เสนอเข้ามายัง สสส. เพื่อพิจารณาขอรับการสนับสนุนจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา โดยมีขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการ ดังนี้ (1) ขั้นการพัฒนาโครงการ เป็นการวิเคราะห์ว่าโครงการที่ส่งเข้ามาสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางการสนับสนุนโครงการของ สสส. หรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสาร โครงการที่ไม่ผ่านการพิจารณาในขั้นนี้จะได้รับจดหมายแจ้งให้ทราบสาเหตุที่ไม่ผ่านการพิจารณาภายใน 30 วัน พร้อมทั้งข้อแนะนำในการปรับปรุงหากต้องการเสนอเข้ามาใหม่ ส่วนโครงการที่ผ่านในขั้นนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป (2) ขั้นกลั่นกรองทางวิชาการ ดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในประเด็นเนื้อหาหลักของโครงการ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ ความสมเหตุสมผลในด้านต่างๆ และประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ รวมถึงความสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นการอนุมัติโครงการ (3) ขั้นการอนุมัติโครงการ เป็นการพิจารณาจากความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อโครงการ เพื่อประกอบการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนโครงการ โดยทุกโครงการจะได้รับจดหมายแจ้งผลการพิจารณา พร้อมชี้แจงเหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการ (4) ขั้นจัดทำสัญญา โครงการที่ผ่านการพิจารณาและได้รับการอนุมัติจะได้รับการประสานงานเพื่อขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง สสส. และผู้เสนอโครงการ โดยเมื่อได้รับข้อตกลงโปรดตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง จากนั้นลงนามแล้วส่งต้นฉบับข้อตกลงพร้อมทั้งสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร (หน้าแรก) ของโครงการกลับมายัง สสส. ภายในระยะเวลาที่ระบุในจดหมายนำส่ง โครงการที่เข้าข่ายการพิจารณา มีรายละเอียดดังนี้ รายละเอียดโครงการครบถ้วน ระบุสภาพปัญหาของพื้นที่/ชุมชนชัดเจน มีแผนการดำเนินงาน/กิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ พร้อมระบุตัวชี้วัดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังสิ้นสุดโครงการได้อย่างชัดเจน งบประมาณที่เสนอไม่เกิน 90,000 บาท (เก้าหมื่นบาท) มีแผนการใช้งบประมาณอย่างประหยัด สมเหตุสมผล หรือมีทรัพยากรสมทบจากองค์กรท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น หากเคยได้รับทุนจาก สสส. ต้องเป็นผู้มีประวัติรับทุนดี และเป็นโครงการต่อยอดหรือขยายผลที่เป็นการยกระดับการดำเนินงาน โดยต้องแสดงเหตุผลหรือข้อมูลที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มคุณค่าหรือต่อยอดจากโครงการเดิมอย่างไร ผู้เสนอโครงการเป็นกลุ่มบุคคล/หน่วยงาน/องค์กร/ชุมชน ที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นผู้มีจิตอาสา (ไม่มีค่าตอบแทนคณะทำงานของโครงการ) ที่ต้องการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา/สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง เป็นโครงการที่เสนอโดยหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ ต้องมีการลงนามรับรอง โดยผู้รับรองต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือและต้องไม่เรียกร้องหรือรับค่าตอบแทนใดๆ จากผู้เสนอโครงการ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ประเด็นสุขภาพ และกลุ่มเป้าหมายที่ สสส. สนับสนุน เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดำเนินการ สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นได้ มีโอกาสที่จะมีความยั่งยืน มีความต่อเนื่อง เมื่อทุนของ สสส. หมดลง ลักษณะโครงการ/กิจกรรม ค่าใช้จ่าย ที่ สสส. ไม่สนับสนุน องค์กรที่เสนอโครงการ หรือเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสุราหรือยาสูบหรือสินค้าทำลายสุขภาพ หน่วยงานหรือบุคคลที่เคยได้รับทุนจาก สสส. และมีประวัติด่างพร้อยในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือได้สร้างความเสื่อมเสียแก่ สสส. หรือแก่บุคคลอื่นๆ ในสังคม โครงการที่มีจุดมุ่งหมายหรือเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างแจ้งชัด โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการหาทุน หากำไร ลงทุนเพื่อแสวงหากำไร หรือจัดตั้งกองทุนต่างๆ มุ่งเน้นการตั้งงบประมาณเป็นค่าตอบแทน ให้รางวัล/สิ่งของ หรือจัดซื้อรางวัล โครงการด้านการให้บริการในลักษณะสงเคราะห์ เช่น การจัดซื้อยา อุปกรณ์การแพทย์ ตรวจร่างกาย การแจกอาหาร การรักษาพยาบาล หรือให้สวัสดิการช่วยเหลือต่างๆ โครงการที่มุ่งจัดหา ครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ หรือ สิ่งก่อสร้าง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ออกกำลังกายราคาแพง การก่อสร้างอาคาร ลานกีฬา การสร้างห้องฟิตเนส ซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โครงการจัดตั้งสำนักงาน หรือโครงการที่มีเจตนาหารายได้เข้าหน่วยงานเป็นหลัก โครงการที่มุ่งเน้นค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือน ค่าตอบแทนของผู้เสนอโครงการและคณะทำงาน หรือค่าใช้จ่ายสำนักงาน โครงการที่การดำเนินงานมีเพียงกิจกรรมโดดๆ หรือเป็นกิจกรรมระยะสั้น ที่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดค่าย การจัดอบรม การแข่งขันกีฬา งานอีเว้นท์ การศึกษาดูงาน เป็นต้น โครงการที่เป็นงานวิจัย หรืองานประจำของหน่วยงานรัฐ หรือองค์กร หรือชุมชน/พื้นที่…
หน่วยจัดการระดับจังหวัดสำหรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก (Node จังหวัด) ทำหน้าที่กระจายโอกาสการริเริ่มทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็กให้ภาคีรายย่อยในจังหวัด รวมถึงการติดตามสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพภาคีรายย่อยให้สามารถดำเนินงานโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ หากท่านเป็นผู้ที่สนใจในการพัฒนาชุมชนให้มีขีดความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพ มุ่งเน้นการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ แผนสร้างสรรค์โอกาสสร้างเสริมสุขภาวะ ขอเชิญชวนท่านเสนอโครงการหน่วยจัดการระดับจังหวัดสำหรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกรอบการดำเนินงาน และดาวน์โหลดแบบเสนอโครงการได้ที่ https://bit.ly/3cRhjPz เปิดรับข้อเสนอโครงการ วันนี้ – 9 ธันวาคม 2564
หน่วยจัดการระดับจังหวัดสำหรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก (Node จังหวัด) ทำหน้าที่กระจายโอกาสการริเริ่มทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็กให้ภาคีรายย่อยในจังหวัด รวมถึงการติดตามสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพภาคีรายย่อยให้สามารถดำเนินงานโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ หากท่านเป็นผู้ที่สนใจในการพัฒนาชุมชนให้มีขีดความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพ มุ่งเน้นการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ แผนสร้างสรรค์โอกาสสร้างเสริมสุขภาวะ ขอเชิญชวนท่านเสนอโครงการหน่วยจัดการระดับจังหวัดสำหรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกรอบการดำเนินงาน และดาวน์โหลดแบบเสนอโครงการได้ที่ https://bit.ly/3kq5unJ เปิดรับข้อเสนอโครงการ วันนี้ – 30 พฤศจิกายน 2564
คู่มือบริหารการจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (คู่มือผู้รับทุนฉบับใหม่ ประกาศใช้ ก.พ. 2564) สสส. ปรับปรุงรูปแบบข้อตกลง ให้สอดคล้องกับหมวดเงินงบประมาณโครงการ และการหักภาษีของผู้รับทุน จึงได้จัดทำคู่มือสำหรับผู้รับทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริการจัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป สามารถดูรายละเอียดและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ลิงก์นี้เลย https://bit.ly/3eR5c7j
บทความ สาระน่ารู้ มีประโยชน์
สื่อการเรียนรู้
ใหม่จากภาคีสร้างสรรค์โอกาส


ทางเลือกเพื่อ ลด ละ เลิกบุหรี่
View More
ทางเลือกเพื่อ ลด ละ เลิกบุหรี่
View Moreโครงการสร้างสรรค์
ส่งเสริมสร้างสรรค์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในชุมชนเรา






จากบล็อกของภาคี
พื้นที่เรียนรู้

เกี่ยวกับสำนัก 6
สร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก สำหรับภาคีรายย่อย
เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรทั่วไป ที่สนใจริเริ่มทำโครงการที่สร้างสรรค์ตรงกับความต้องการและ ปัญหาของพื้นที่ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาทักษะ วิธีคิด และเพิ่มขีดความสามารถแก่ภาคีเครื่อข่ายในการทำงาน ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง


เกี่ยวกับสำนัก 6
สร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก สำหรับภาคีรายย่อย
เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรทั่วไป ที่สนใจริเริ่มทำโครงการที่สร้างสรรค์ตรงกับความต้องการและ ปัญหาของพื้นที่ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาทักษะ วิธีคิด และเพิ่มขีดความสามารถแก่ภาคีเครื่อข่ายในการทำงาน ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง


